วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อการเรียนการสอนประเภทวัสดุกราฟิก
สื่อการเรียนการสอนประเภทวัสดุกราฟิก  หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
ประเภทของวัสดุกราฟิก
ประเภทของวัสดุกราฟิกโดยทั่วไป กับวัสดุกราฟิกสำหรับการจัดนิทรรศการจะมีลักษณะที่เหมือนกันแต่อาจจะมีจำนวนที่แตกต่างกัน การแบ่งประเภทของวัสดุกราฟิกที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการแบ่งวัสดุกราฟิกที่มีการนำมาใช้ในการจัดนิทรรศการที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 ชนิด คือ
1.      แผนภูมิ (Chart )
2.      แผนสถิติ (Graph)
3.      แผนภาพ (Diagram)
4.      ภาพโฆษณา (Poster)
5.      การ์ตูน (cartoon)
6.      แผนที่ (Map) และ ลูกโลก (Globe)
   1.1 แผนภูมิ (Chart)
                        แผนภูมิเป็นทัศวัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ ความต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ใช้เส้น รูปทรง สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และคำบรรยายประกอบ แผนภูมิแบ่งตามลักษณะการนำเสนอข้อมูล ได้ 9 ประเภท คือ
1.      แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Chart)
2.      แผนภูมิแบบสายธาร(Stream Chart)
3.      แผนภูมิแบบต่อเนื่อง(Flow Chart)
4.      แผนภูมิแบบองค์กร(Organization Chart)
5.      แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ(Contrast Chart)
6.      แผนภูมิแบบตาราง(Tubular Chart)
7.      แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ(Experience Chart)
8.      แผนภูมิแบบอธิบายภาพ(Achievement Chart)
9.      แผนภูมิแบบขยายส่วน(Enlarging Chart)
 1.2 แผนสถิติ (Graph)
                        แผนสถิติเป็นทัศวัสดุที่ใช้ จุด  เส้น รูปทรง สัญลักษณ์ และเนื้อที่ แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล ตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป แผนสถิติมีความเหมาะสมสำหรับ การนำเสนอข้อมูลที่เป็นตัวเลข นำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ทั้งในลักษณะขัดแย้งและสนับสนุน ตลอดจนเหมาะสมที่จะใช้ในการเปรียบเทียบปริมาณ และคุณภาพ แผนสถิติที่นิยมใช้กันทั่วไปในการจัดนิทรรศการแบ่งตามลักษณะการนำเสนอข้อมูล ได้ 5 ประเภท คือ      
1. แผนสถิติเส้น (Line Graphs)
แผนสถิติเส้น หรือ Line Graph ประกอบด้วยเส้นที่เกิดจากจุดต่างๆ ที่เป็นข้อมูลตัวเลข อาจแสดงในลักษณะแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้  นิยมใช้แสดงแนวโน้ม หรือเพื่อการทำนาย
2. แผนสถิติวงกลม (Pie /Circle Graphs)
แผนสถิตวงกลมเป็นแผนสถิติที่นิยมใช้เปรียบเทียบให้เห็นส่วนย่อยๆ ที่รวมกันเป็นร้อยละภายใต้รูปลักษณ์รวมที่เป็นวงกลม รูปแบบที่สามารถเข้าใจและเห็นข้อมูลได้ชัดเจนที่สุดของแผนสถิติวงกลม คือแบบด้านหน้า
3.แผนสถิติรูปภาพ (Pictorial Graphs)
แผนสถิติแบบรูปภาพ เหมาะแก่การใช้นำเสนอที่คล้ายกับแผนภูมิแบบแท่งแตดต่างในลักษณะของความเข้าใจที่ง่ายและรวดเร็ว สามารถผสมผสานข้อมูลได้ชัดเจนหลายชุด      
4.แผนสถิติแท่ง (Bar Graphs)
แผนสถิติแบบแท่ง หรือ Bar Graphs เป็นลักษณะของแผนสถิติที่นิยมใช้แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นข้อมูลของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆ สิ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆ


5. แผนสถิติพื้นที่ (Area Graphs)
แผนสถิติพื้นที่เหมาะใช้กับการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ต้องการให้เห็นแนวโน้มของการกระจายหรือเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาของข้อมูลชุดนั้น ๆ
1.3 แผนภาพ (Diagram)
แผนภาพ (Diagram) เป็นโสตทัศนวัสดุที่นิยมใช้แสดงความสัมพันธ์  ระบบการทำงาน โดยใช้ เส้น ภาพเหมือน ภาพลายเส้น  แผนภาพ(Diagram) แบ่งตามลักษณะองค์ประกอบได้ 3 ประเภท คือ
1.แผนแบบภาพลายเส้น
2. แผนภาพแบบรูปภาพ
3. แผนภาพแบบผสม
1.4 ภาพโฆษณา (Poster)
ภาพโฆษณา เป็นทัศนวัสดุที่ใช้เพื่อสื่อความหมายที่สามารถดึงดูดความสนใจแก่ผู้พบเห็นได้ในทันที มีลักษณะที่มองเห็นและเข้าใจได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว  ภาพโฆษณาสื่อสารกับผู้ชมเพียงสั้น ๆ ไม่ซับซ้อน มุ่งเน้นเนื้อหา ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงในประเด็นเดียว1.5 การ์ตูน (Cartoon)และการ์ตูนเรื่อง (Comics)
การ์ตูน (cartoon) ใช้เล่าเรื่องราว เหตุการณ์ และ ลักษณะสิ่งต่างๆ โดยใช้ตัวการ์ตูนที่เกิดจากภาพลายเส้นแทนสิ่งต่าง ๆ มีลักษณะที่น่าสนใจ  การ์ตูนมักเน้นไปในการล้อเลียน เสียดสี แสดงจุดเด่น  ลักษณะที่แสดงความเป็นการ์ตูนที่ชัดเจนคือ เนื้อหาที่แสดงออกจะประกอบด้วยบางสิ่งบางอย่างที่เกินความเป็นจริงตามธรรมชาติ
1.6 แผนที่ (Map) และ ลูกโลก (Globe)
แผนที่ (Map) และ ลูกโลก (Globe) เป็นภาพและหุ่นจำลองย่อส่วนตามความเป็นจริงแสดงพื้นที่ สถานที่ และสภาพทางภูมิศาสตร์
                     กรวยประสบการณ์


       1.ประเภทของสื่อกราฟิกทางการศึกษา
แผนสถิติ (Graphs)
แผนภูมิ (Charts)
แผนภาพ (Diagrams)
ภาพโฆษนาและโปสเตอร์ (Posters)
การ์ตูน (Cartoons)
ภาพพลิก (Flip Charts)
สัญลักษณ์ (Symbols)
กระดานชอล์ก (Chalk Board)
แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe)
รูปภาพ (Photographic)
เครื่องฉายสไสด์ (Slides)
แผ่นภาพโปร่งใส (Transparencies)

        2. ประกอบการเรียนรู้

1. ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านประสาทรับรู้หลายทางขึ้น
2. ช่วยให้ครูสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องและผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
3. ทำให้การเรียนการสอนดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วได้เนื้อหามากประหยัดเวลา
4. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจไม่เบื่อหน่าย และร่วมกิจกรรมการเรียนด้วยดี
5. ทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจเรียนได้เร็วและจำได้นาน
6. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักคิดแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆได้
7. สามารถทำสิ่งที่ยากและสลับซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น
8. ย่อส่วนของสิ่งที่ใหญ่โตให้เล็กลงเพื่อนำมาศึกษาลักษณะส่วนรวมของสิ่งนั้นได้
9. ขยายสิ่งเล็กๆ ให้สะดวกต่อการศึกษาได้
10.นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้เช่นภาพถ่าย

นายพลวัชระ ชูศรี รหัส 544179019
สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์การศึกษา

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

นายพลวัชระ   ชูศรี
เกิดวันที่ 7 ธันวาคม  2535
จบมัธยม ที่ รร. ไชยาวิทยา  อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี